English | Bahasa Indonesia | Filipino | Hindi

ใบแจ้งข่าว, 4 ธันวาคม 2566 — การชดเชยคาร์บอน (carbon offsetting) เป็นกลไกที่บ่อนทำลายการแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่แท้จริง (real climate action) ก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิของชนพื้นเมือง รวมถึงสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อชุมชนแนวหน้าในโครงการเหล่านี้มานานกว่าสองทศวรรษ ถึงกระนั้น การประชุมเรื่องสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติ (COP28) ที่กำลังจัดขึ้นในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กลับถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในวาระส่งเสริมกลไกการชดเชยคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ รัฐบาลต่างๆ จะตัดสินใจว่าการชดเชยคาร์บอนจะถูกดำเนินการในฐานะนโยบายสภาพภูมิอากาศระหว่างประเทศหรือไม่ ระหว่างที่ประธานการประชุมสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จัดกิจกรรมส่งเสริมกลไกการชดเชยคาร์บอนอีกมากมาย
 
ความฉ้อฉลและความเสียหายต่อชุมชนท้องถิ่นที่เกิดจากโครงการตลาดคาร์บอนมีการบันทึกไว้อย่างละเอียด ตลอดปี 2023 งานวิจัยทางวิชาการ สื่อ และการสืบค้นข้อมูลของภาคประชาสังคม ได้เปิดเผยว่าโครงการเหล่านี้สร้างการชดเชยคาร์บอนอันหลอกลวงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการยึดครองที่ดิน และการละเมิดสิทธิมนุษยชนและชนพื้นเมือง (ดูด้านล่าง) ตัวอย่างล่าสุด ได้แก่ การบังคับโยกย้ายถิ่นฐานชาว Ogiek ในป่า Mau ของเคนยาเพื่อเปิดทางให้กับโครงการชดเชยฯ เกิดการล่วงละเมิดทางเพศอย่างกว้างขวางในโครงการดังกล่าวที่ดำเนินการโดย Wildlife Works ของสหรัฐอเมริกา ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ประเทศเคนยา ไลบีเรีย แทนซาเนีย แซมเบีย และซิมบับเว ยังได้ลงนามข้อตกลงกับ Blue Carbon ในดูไบ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ชุมชนรวมกว่า 24 ล้านเฮกตาร์

พรมแดนใหม่ของการชดเชยคาร์บอนตั้งอยู่บนฐานของการแย่งยึดและแปลงที่ดินเกษตรกรรม พื้นที่ชายฝั่งทะเลและพื้นที่ทางทะเลให้เป็น “การกำจัด” คาร์บอน ซึ่งบริษัทต่างๆ อ้างว่าเป็นการแยกกักคาร์บอนและสร้างคาร์บอนเครดิต “ใหม่” เทคนิคเหล่านี้ไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถกักเก็บคาร์บอนได้อย่างถาวร ตัวอย่างเช่น การเพาะปลูกสาหร่ายอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เป็นการละเมิดอาณาเขตของชุมชนชายฝั่ง และสร้างภัยคุกคามใหม่ต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลและห่วงโซ่อาหารทางทะเล

การชดเชยคาร์บอนยังก่อให้เกิดอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วในด้านวิศวกรรมภูมิศาสตร์ที่สุ่มเสี่ยงและสร้างนักแสวงกำไรจากความวุ่นวายทางสภาพอากาศ ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับชุมชนท้องถิ่นและชนพื้นเมือง ผู้พัฒนาโครงการชดเชยคาร์บอน หน่วยงานกำกับมาตรฐาน ผู้ตรวจสอบ และผู้ให้บริการค้าคาร์บอนเครดิตทำเงินนับล้านจากการปั่นคาร์บอนเครดิตซึ่งล้มเหลวในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และทำให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น โครงการเหล่านี้หลายโครงการเปลี่ยนแพ็คเก็จใหม่เป็น วิธีแก้ปัญหาตามธรรมชาติ‘ (nature based solutions) หรือ การแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศตามธรรมชาติ‘ (nature climate solutions) หรือเมื่อทำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลและทางทะเลในชื่อ คาร์บอนสีน้ำเงิน‘ (blue carbon) ล้วนแต่ฉุดรั้งชาวนาและชุมชนพื้นเมืองให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากไปกับกระบวนการต่อสู้ทางกฏหมายที่ซับซ้อนเพื่อยืนยันสิทธิ ทวงคืนผืนดินของชุมชน และต่อสู้กับโครงการชดเชยฯ เหล่านี้ ในโครงการ Cordillera Azul National Park REDD (PNCAZ) ชุมชน Kichwa ซึ่งยังชีพอยู่ในป่าแอมะซอน ประเทศเปรูได้รับผลกระทบจากการต่อสู้กับโครงการด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงมาก โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่พรุ Katingan ในอินโดนีเซียก็ส่งผลเสียต่อชุมชน Dayak เช่นกัน ‘วิธีแก้ปัญหาตามธรรมชาติ’ ของ Total Energies ที่ทำโดยการปลูกต้นไม้เพื่อชดเชยในที่ราบสูง Bateke ของสาธารณรัฐคองโก อันเป็นที่ตั้งของชุมชนชนพื้นเมือง Aka และเกษตรกร Bantu ถือเป็นอีกกรณีหนึ่งของโครงการชดเชยคาร์บอนที่มีการละเมิดสิทธิของชุมชน โครงการเหล่านี้เป็นการไล่ล่ายึดครองที่ดินของชาวพื้นเมืองที่สืบทอดมาหลายศตวรรษ โดยปัจจุบันมีเหตุผล “ด้านสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเปรียบได้กับลัทธิล่าอาณานิคมสีเขียว

ตลาดคาร์บอนไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนคือการกลับมาใส่ใจรักษาเชื้อเพลิงฟอสซิลไว้ในพื้นดินและความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่แท้จริงโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาคและความยุติธรรม

 

โคว้ท

Jutta Kill จาก World Rainforest Movement กล่าวว่า, “การซื้อขายการชดเชยคาร์บอนนั้นเป็นการดำเนินการที่เลินเล่อและขาดความรับผิดชอบ เราเสียเวลามากเกินไปในการพยายามแก้ไขแนวคิดที่มีข้อบกพร่องทางโครงสร้าง โครงการเหล่านี้นับไม่ถ้วนนำไปสู่การยึดครองที่ดินและก่อให้เกิดความขัดแย้งและเป็นอันตรายต่อชาวนา ชนพื้นเมือง และชุมชน”

ชาลมาลี กุตตัล จาก Focus on the Global South กล่าวว่า, “องค์กรของชาวประมงรายย่อย ชุมชนชายฝั่งและชุมชนประมงน้ำจืดปฏิเสธอย่างชัดเจนต่อสิ่งที่เรียกว่า ‘เศรษฐกิจสีน้ำเงิน’ (Blue economy) และชี้ให้เห็นว่าแนวคิดเรื่องความยั่งยืนและความสามารถในการฟื้นตัว (resilience) กำลังถูกบ่อนทำลายเพื่อ ‘การล่าอาณานิคมของสภาพภูมิอากาศ’ ผ่านการขยายขอบเขตของการขูดรีดและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ”

กีรตนา จันทรเสการัน จาก Friends of the Earth International กล่าวว่า “ตลาดคาร์บอนโหมกระพือการยึดครองที่ดินในนามของสิ่งแวดล้อม (green grabbing) โดยผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในการประชุม COP 28 รัฐบาลต่างๆ ยังคงตัดสินใจว่าจะขยายขอบเขตของตลาดคาร์บอนให้ครอบคลุมผืนดินใหม่ๆ พื้นที่ทางทะเล และสร้างรูปแบบการชดเชยคาร์บอนที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิต่อไปอย่างไร นี่จะเป็นหายนะสำหรับการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศและชุมชนแนวหน้าที่ต้องเผชิญกับผลกระทบ สิ่งที่เราต้องการคือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกลไกการเงินที่ช่วยแก้ไขวิกฤตสภาพอากาศอย่างแท้จริง อะไรที่น้อยกว่านั้นคือความล้มเหลว”

Devlin Kuyek จาก GRAIN กล่าวว่า “ตลาดคาร์บอน แผนการชดเชย และ “การกำจัด” คาร์บอน ไม่ใช่ข้อเสนอของวิธีแก้ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศ โครงการเหล่านี้สร้างระบบที่ช่วยให้บรรษัทผู้ก่อมลพิษและประเทศร่ำรวยสามารถชะลอการแก้ปัญหาและสร้างผลกำไรจากวิกฤติ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานที่ไม่มีหรือมีตรา UN รับรองโครงการ การชดเชยคาร์บอนในทุกรูปแบบ รวมถึง REDD หรือที่เรียกว่า “วิธีแก้ปัญหาจากธรรมชาติ” และ “คาร์บอนสีน้ำเงิน” ถือเป็นความฉ้อฉลที่ต้องยุติโดยทันที”

ลอร่า ดันน์ จาก ETC Group กล่าวว่า “ในโลกของการชดเชยคาร์บอน สาหร่ายทะเลได้รับการขนานนามว่าเป็นน้ำมัน “สีเขียว” ชนิดใหม่ แต่รายงานล่าสุดของเราเรื่อง ความเข้าใจผิดต่อสาหร่ายทะเล (The Seaweed Delusion) แสดงให้เห็นว่าการทำฟาร์มสาหร่ายทะเลเชิงอุตสาหกรรมไม่ได้ช่วยรักษาสภาพภูมิอากาศของเราหรือรักษาธรรมชาติได้ การทำวิศวกรรมภูมิศาสตร์โลกด้วยการปลูกสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่จะทำลายระบบนิเวศและคุกคามชุมชนชายฝั่ง”

Anuradha Mittal ผู้อำนวยการ Oakland Institute กล่าวว่า “ในการประชุม COP28 ผู้นำโลกและผู้เจรจาเรื่องสภาพภูมิอากาศจำเป็นต้องตระหนักทันทีว่าตลาดคาร์บอนเป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ล้มเหลว ตลาดเหล่านี้มีความผันผวนและไม่มั่นคง เกิดจากการพัฒนาแนวคิดที่ฉ้อโกง ไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นอันตรายต่อชุมชน เราไม่สามารถเสียเวลากับวิธีแก้ปัญหาที่ผิดพลาดนี้ได้อีกต่อไป โลกต้องการทางเลือกอื่นอย่างเร่งด่วนในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากตลาดคาร์บอนล้มเหลว”

Jose Bravo จาก Just Transition Alliance กล่าวว่า “การค้าขายมลพิษและแผนการชดเชยคาร์บอนมีไว้เพื่อรับรองผลประโยชน์ของเหล่าบริษัทก่อมลพิษที่ใหญ่ที่สุดของโลกเท่านั้น กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) จำเป็นต้องถอยห่างจากการอุดหนุนผู้ก่อมลพิษและเริ่มต้นมองตามการนำของคนทำงานและชุมชนแนวหน้าที่กำลังสร้างเส้นทางการเปลี่ยนแปลงโดยอิงจากการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศที่แท้จริง เพื่อที่จะฟื้นความน่าเชื่อถือใดๆ ของสหประชาชาติในการประชุม COP 28 “

 –จบ

 

โน้ต

 

ตัวอย่างความเสียหายต่อชุมชนท้องถิ่นจากโครงการชดเชยคาร์บอน:

    • เกือบครึ่งหนึ่งของการชดเชยที่เชฟรอนซื้อนั้นเชื่อมโยงกับข้อเรียกร้องหรือข้อกล่าวหาว่าก่อให้เกิดอันตรายต่อชุมชนและเป็นตัวเร้าความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซีกโลกใต้หรือชุมชนแนวหน้าที่เผชิญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
    • แผนที่โครงการชดเชยคาร์บอนทั่วโลกในช่วงห้าปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า 72% ก่อให้เกิดอันตรายต่อชนพื้นเมืองหรือชุมชนท้องถิ่น
    • โครงการเชื้อเพลิงจากขยะในรัฐเกรละ ประเทศอินเดีย ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างคาร์บอนเครดิต กำลังเป็นพิษต่ออากาศของหมู่บ้านโดยรอบที่มีประชากรหนาแน่น
    • โครงการชดเชยคาร์บอนของ Total ในสาธารณรัฐคองโกได้ยึดที่ดินจากเกษตรกรและคุกคามวิถีชีวิตของพวกเขา
    • ชุมชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โครงการ Alto Mayo REDD+ ในเปรูถูกไล่รื้อและขับไล่ออกจากบ้านตัวเองโดยกำลังความรุนแรงหลายระลอกจากเจ้าหน้าที่อุทยานที่พยายามกวาดล้างหลายครั้ง
    • เมื่อเร็วๆ นี้ African Forestry Impact Platform เข้าซื้อกิจการ Green Resources ซึ่งเป็นบริษัทด้านป่าไม้และคาร์บอนเครดิตของนอร์เวย์ที่มีประวัติการยึดที่ดิน การละเมิดสิทธิมนุษยชน และการทำลายสิ่งแวดล้อมทั่วยูกันดา โมซัมบิก และแทนซาเนีย

ตัวอย่างบางส่วนของการฉ้อฉลและการค้าคาร์บอนเครดิตอันหลอกลวง

    • หนังสือพิมพ์ The New Yorker ขนานนามโครงการ Kariba REDD ในซิมบับเวของบรรษัท South Pole ซึ่งเป็นบรรษัทค้าการชดเชยคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกว่าเป็น “การเร่งรัดดีลเงินสดแลกคาร์บอน” โดยบรรษัทปั่นคาร์บอนเครดิตได้อย่างน้อย 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนที่จะล่มสลายจากเรื่องอื้อฉาวในเดือนตุลาคม 2023
    • งานศึกษาในปี 2023 พบว่าโครงการชดเชยคาร์บอนชั้นนำของโลกส่วนใหญ่จัดอยู่ในประเภท “น่าจะไร้ประโยชน์” ในขณะที่งานศึกษาอีกชิ้นหนึ่ง พบว่า “เครดิตส่วนใหญ่อาจไม่แสดงถึงประโยชน์ด้านสภาพภูมิอากาศใดๆ” เมื่อพิจารณาจากหน่วยงานผู้รับรองการชดเชยคาร์บอนชั้นนำของโลก
    • งานศึกษาของ Mongabay และ the New Humanitarian พบว่าคำกล่าวอ้างความเป็นกลางทางคาร์บอนของสหประชาชาติอาศัยการชดเชยคาร์บอนเครดิตเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพียงเล็กน้อย และบางส่วนยังเชื่อมโยงกับรายงานความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม การบังคับย้ายถิ่น หรือปัญหาสุขภาพ
    • การประเมินโครงการ  Northern Kenya Grassland Carbon Project ซึ่งดำเนินการโดย Northern Rangelands Trust (NRT) พบว่าโครงการนี้อาศัยสมมติฐานด้านระเบียบวิธีที่มีข้อบกพร่อง ทำให้เกิดคำถามถึงความน่าเชื่อถือของการชดเชยคาร์บอนที่เกิดขึ้น
    • รายงานการสืบสวนข้อมูลของ Le Monde พบว่าโครงการชดเชยคาร์บอน 3 โครงการในเมือง Portel ประเทศบราซิล ซึ่งขายเครดิตให้กับ Air France, Boeing, Bayer, Veolia, LCL และ Samsung นั้น เป็นการฉ้อโกงและไม่มีประโยชน์ต่อสภาพภูมิอากาศ
    • ในปาปัวนิวกินี การสืบสวนของสำนักข่าว ABC พบหลักฐานว่ามีการตัดไม้เชิงพาณิชย์โดยโครงการคาร์บอนเครดิตที่ดำเนินการโดยบริษัท NIHT ในสหรัฐฯ เกิดขึ้นในป่าฝนที่ได้รับการคุ้มครอง
    • บทความตีพิมพ์จาก Penn Center for Science, Sustainability, and the Media ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา สรุปว่าการชดเชยคาร์บอนบ่อนทำลายข้อตกลงปารีสของสหประชาชาติ
    • การวิจัยโดย Compensate อดีตผู้ให้บริการการชดเชยคาร์บอนชี้ให้เห็นว่าเครดิตส่วนใหญ่ของโครงการชดเชยคาร์บอนแบบ อิงธรรมชาติที่ผ่านการคัดกรองและขายในตลาดกว่า 170 โครงการนั้น “ไม่เหมาะสมในการใช้ชดเชยคาร์บอน”
    • จากการวิเคราะห์ BeZero ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดอันดับการชดเชยคาร์บอน ตั้งข้อสังเกตว่าในขณะที่ “ทฤษฎีการสร้างตลาดคาร์บอนสันนิษฐานว่าเครดิตทั้งหมดแสดงถึงการหลีกเลี่ยงหรือการกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เท่ากับ 1tCOe หลักฐานกลับแสดงให้เห็นมากขึ้นว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้น”

องค์กร:

 

ผู้ประสานงานสื่อ:

    • Friends of the Earth International: Madeleine Race, เจ้าหน้าที่ด้านการสื่อสาร, [email protected], +31 645 198 654 (ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาสเปน)
    • GRAIN (ด้านการเกษตร/อาหาร): Ange David Baimey, [email protected], +22505345274, ประเทศโกตดิวัวร์ (ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส)
    • Focus on the Global South: Shalmali Guttal, [email protected]. ประเทศอินเดียและประเทศไทย +918971368696 (ภาษาอังกฤษ)
    • ETC group (วิศวกรรมภูมิศาสตร์โลก, การกำจัดคาร์บอน): Laura Dunn, [email protected] +1 514-607-9979 (ภาษาอังกฤษ)
    • The Oakland Institute: Anuradha Mittal [email protected] +1 510 469 5228
    • Indigenous Climate Action: ATTN: Katie Wilson & Rosalyn Boucha, [email protected] (ภาษาอังกฤษ)